skip to Main Content

หุ้นตัวไหน..ใช้ทรัพย์สินสร้างกำไรได้สูงสุด เช็กด้วยตัวเลข ROA

การวิเคราะห์ ROA (Return on Assets) จะเป็นตัวช่วยวัดว่าบริษัทใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่สร้างกำไรได้คุ้มค่าแค่ไหน บทความนี้จะพาไปดู ความหมายรวมถึง ความสำคัญและวิธีการคำนวณ ROA

  • ROA คืออะไร
  • วิธีคำนวณหา ROA
  • วิธีการดู ROA บนโปรแกรมเทรดหุ้น Finansia HERO

        ROA (Return on Assets) คืออัตราส่วนทางการเงินที่ใช้วัดความสามารถของบริษัทในการสร้างกำไรจากสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่ โดยการคำนวณ ROA จะช่วยให้เห็นภาพรวมของการใช้ทรัพยากรในบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญในการประเมินความสามารถในการบริหารสินทรัพย์

ความสำคัญของ ROA

ROA เป็นเครื่องมือที่ช่วยนักลงทุนในการประเมินความสามารถของบริษัทในการใช้ทรัพย์สินที่มีเพื่อสร้างผลกำไร หากบริษัทมี ROA สูงแสดงว่าบริษัทสามารถใช้สินทรัพย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพในการทำกำไร ในทางตรงข้าม หาก ROA ต่ำอาจบ่งชี้ถึงการใช้ทรัพย์สินที่ไม่คุ้มค่า หรือการบริหารที่มีประสิทธิภาพต่ำ

 

วิธีคำนวณหา ROA

ROA สามารถคำนวณได้จากสูตร:

กำไรสุทธิ (Net Income) คือกำไรที่บริษัทได้หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด

สินทรัพย์รวม (Total Assets) คือมูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดที่บริษัทมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน (เช่น เงินสด, ลูกหนี้) หรือสินทรัพย์ถาวร (เช่น อสังหาริมทรัพย์, เครื่องจักร)

ยกตัวอย่าง

สมมุติว่าบริษัท A มีกำไรสุทธิ 10 ล้านบาท และสินทรัพย์รวม 100 ล้านบาท การคำนวณ ROA ของบริษัท A จะเป็น:

ROA = ( 10,000,000 / 100,000,000 ) x 100 = 10%

หมายความว่า บริษัท A สามารถทำกำไรได้ 10% จากสินทรัพย์ทั้งหมดที่มีอยู่

 

เรามาสามารถดูค่า ROA ได้ใน Application Finansia HERO บนมือถือ

โดยเข้าไปที่ เมนูหลักด้านล่าง >> Market เลือกเมนูย่อยด้านบน >> Quote

ในหน้า Quote เลือกแถบ Company Info จะเห็นคำว่า ROA

จากรูป : จะเห็นได้ว่า หุ้น DELTA มี ROA อยู่ที่ 19.76% เป็นตัวเลขที่ค่อนข้างสูง หมายความว่า DELTA ใช้สินทรัพย์ที่มีอยู่สร้างกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปัจจัยที่มีผลต่อ ROA

การจัดการสินทรัพย์ : การใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การบริหารสินค้าคงคลัง และการควบคุมสินทรัพย์ถาวร

โครงสร้างรายได้และต้นทุน : บริษัทที่สามารถควบคุมต้นทุนได้ดีจะมี ROA สูงกว่า

การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร : การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร เช่น โรงงาน หรือเครื่องจักร อาจส่งผลต่อ ROA ในระยะสั้นและระยะยาว

ข้อจำกัดของ ROA

ไม่เหมาะกับการเปรียบเทียบต่างอุตสาหกรรม : แต่ละอุตสาหกรรมมีลักษณะการใช้สินทรัพย์ที่แตกต่างกัน ROA ในอุตสาหกรรมการผลิตจะไม่เหมือนกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี

ผลกระทบจากการตีมูลค่าสินทรัพย์ : หากบริษัทมีสินทรัพย์ที่มูลค่าลดลงหรือเพิ่มขึ้นอย่างมาก อาจทำให้ ROA ไม่สะท้อนภาพจริงของกำไร

การใช้หนี้ : บริษัทที่ใช้หนี้มาก อาจมีสินทรัพย์รวมสูงขึ้น แต่ ROA ต่ำ หากไม่สามารถสร้างกำไรได้เพียงพอ

แม้ว่า ROA จะเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญ แต่การตัดสินใจลงทุนไม่ควรพิจารณาจากตัวเลขเพียงอย่างเดียว ควรดูปัจจัยอื่นๆ เช่น การเติบโตของรายได้ หนี้สิน และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจร่วมด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่เสี่ยงเกินไป

–        สนใจเปิดบัญชีพร้อมใช้ฟีเจอร์ Pay out Ratio ได้ฟรีคลิก  https://bit.ly/TRAINER01

บทความที่เกี่ยวข้อง
แชร์เพจ
Back To Top