skip to Main Content

หุ้นแตกพาร์ คืออะไร? มือใหม่ต้องรู้!!

เมื่อกิจการดำเนินการไปซักระยะนึงแล้ว หากต้องการเพิ่มสภาพคล่อง เพิ่มจำนวนหุ้น มักใช้วิธีการ “แตกพาร์” นักลงทุนมือใหม่หลายๆท่านอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การแตกพาร์ คืออะไร บทความนี้จะพาทุกท่านไปเข้าใจความหมายรวมถึงผลกระทบ พร้อมวิธีการดูราคาพาร์บนโปรแกรม Finansia HERO

  • รู้จักความหมายของ ราคาพาร์ 
  • เหตุผลที่ธุรกิจทำการแตกพาร์
  • ผลกระทบหลังจากกิจการทำการแตกพาร์

นักลงทุนหลายท่านน่าจะเคยได้ยินคำว่าแตกพาร์กันมาบ้าง แล้วการแตกพาร์คืออะไร แล้วหุ้นที่มีการแตกพาร์ มีผลดีหรือผลเสียกับหุ้นตัวนั้นอย่างไร วันนี้เราจะพาไปคลายข้อสงสัยกันครับ

ก่อนอื่นเรามารู้จักคำว่า ราคาพาร์ ( Par Value ) คือ  มูลค่าที่ตราไว้ตั้งแต่วันแรกที่หุ้นตัวนั้นเข้าจดทะเบียน โดยนำทุนจดทะเบียน หารด้วย จำนวนหุ้นของบริษัทนั้น ยกตัวอย่างเช่น บริษัท หุ้น A มีทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาท แบ่งจำนวนหุ้นออกเป็นทั้งหมด 1,000 ล้านหุ้น จะได้ราคาพาร์ของ บริษัท หุ้น A เท่ากับ 1 บาท ถ้าให้พูดง่ายๆ ราคาพาร์ ก็คือราคาต้นทุนเริ่มต้นของเจ้าของหุ้นตัวนั้น

เราสามารถเข้าไปดู ราคาพาร์ ( Par Value ) ใน Application Finansia HERO ได้

ไปที่ Quote > Company Info > Ratio > Par

เมื่อหุ้นตัวนั้นดำเนินกิจการไปซักระยะนึง แล้วต้องการที่จะปรับโครงสร้างทางการเงินหรือเพิ่มสภาพคล่อง ทำให้หุ้นตัวนั้นสามารถซื้อขายได้ง่ายขึ้น มักจะใช้วิธีการที่เรียกว่า การแตกพาร์

การแตกพาร์ (Stock Split) เป็นกระบวนการที่บริษัททำการแบ่งหุ้นออกเป็นหุ้นใหม่มากขึ้น โดยจำนวนหุ้นที่ถืออยู่จะเพิ่มขึ้นแต่ราคาของหุ้นจะลดลงตามสัดส่วนที่บริษัทกำหนด การแตกพาร์ไม่ทำให้มูลค่ารวมของบริษัทเปลี่ยนแปลง แต่มีผลต่อจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นมีอยู่และราคาหุ้นในตลาด

 

3 เหตุผลที่หุ้นมีการแตกพาร์

  1. ทำให้หุ้นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น: การลดราคาหุ้นทำให้การลงทุนในหุ้นของบริษัทนั้น ๆ เข้าถึงนักลงทุนทั่วไปได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจดึงดูดนักลงทุนรายย่อยให้เข้ามาซื้อหุ้นมากขึ้น
  2. เพิ่มสภาพคล่อง: เมื่อหุ้นมีราคาต่ำลง ความสามารถในการซื้อขายหุ้นในตลาดจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้สภาพคล่องของหุ้นดีขึ้น
  3. สร้างความน่าสนใจ: การแตกพาร์สามารถสร้างความสนใจจากนักลงทุน โดยเฉพาะเมื่อบริษัทมีแนวโน้มเติบโต ซึ่งสามารถกระตุ้นการลงทุนใหม่ ๆ

ผลกระทบของการแตกพาร์

  1. ความรู้สึกของนักลงทุน: การแตกพาร์อาจสร้างความรู้สึกบวกในตลาด เนื่องจากนักลงทุนเห็นว่าบริษัทมีความมั่นคงและการเติบโต
  2. ผลต่อราคา: แม้ว่าโดยพื้นฐานแล้วมูลค่ารวมของบริษัทจะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ในระยะสั้นราคาอาจมีความผันผวนจากความสนใจของนักลงทุน
  3. ผลต่ออัตราส่วนทางการเงิน: บางอัตราส่วนทางการเงิน เช่น ราคาหุ้นต่อกำไร (P/E Ratio) จะถูกปรับเปลี่ยน ซึ่งอาจส่งผลต่อการวิเคราะห์และการตัดสินใจลงทุน

ยกตัวอย่างการแตกพาร์ของหุ้น DELTA

ในปี 2021 บริษัท DELTA ได้ทำการแตกพาร์หุ้นในอัตราส่วน 1:2 หมายความว่าหุ้นหนึ่งหุ้นที่นักลงทุนถืออยู่ จะถูกแบ่งออกเป็นสองหุ้นใหม่ แต่ราคาหุ้นจะลดลงครึ่งหนึ่ง ซึ่งทำให้จำนวนหุ้นทั้งหมดในตลาดเพิ่มขึ้น

เหตุผลในการแตกพาร์ของหุ้น DELTA

  • ทำให้หุ้นเข้าถึงง่ายขึ้น: การแตกพาร์ทำให้ราคาหุ้นของ DELTA ต่ำลงเนื่องจากฝนช่วงนั้นราคาหุ้น DELTA มีราคาแพง หลังจากแตกพาร์ ส่งผลให้นักลงทุนสามารถซื้อหุ้นได้มากขึ้นและเข้าถึงได้ง่าย
  • เพิ่มสภาพคล่องในตลาด: หุ้นที่มีราคาต่ำกว่าช่วยให้มีการซื้อขายที่คล่องตัวมากขึ้น และนักลงทุนรายย่อยสามารถเข้ามาลงทุนได้มากขึ้น
  • เพิ่มความสนใจให้นักลงทุนรายย่อย: การแตกพาร์สร้างความสนใจในหุ้น DELTA ซึ่งอาจดึงดูดนักลงทุนใหม่ ๆ เข้ามา

หลังจากการแตกพาร์ชองหุ้น DELTA

หลังจากการแตกพาร์ หุ้น DELTA ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้น ทำให้มีการซื้อขายที่สูงขึ้น ราคาหุ้นแม้จะลดลงในช่วงแรก แต่กลับมีการเติบโตในระยะยาวจากการเพิ่มขึ้นของกำไรและการขยายตัวของธุรกิจนั่นเอง

จากรูป จะเห็นได้ว่าหุ้นที่มีขนาด Market Cap. ใหญ่ที่สุดก็คือหุ้น DELTA ด้วย 1.2 ล้านล้านบาท เป็นต้น โดยเรียงจากขนาดใหญ่สุดเรียงลงไปทั้งหมด 200 อันดับแรก

 

นักลงทุนสามารถศึกษาวิธีใช้งาน Finansia HERO หน้า Quote เพิ่มเติม ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=HixVzK2cZGg และสมัครใช้ฟีเจอร์ Market Cap. บนมือถือได้ฟรีได้ที่นี่  https://bit.ly/TRAINER01

บทความที่เกี่ยวข้อง
แชร์เพจ
Back To Top